วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การพัฒนาภาคการเกษตรไทย

การพัฒนาภาคการเกษตรไทย
การพัฒนาภาคการเกษตรที่ผ่านมาทำให้เกิดช่องว่างของการพัฒนา เกษตรกรกลายเป็นชนชั้นที่ยากจนของสังคม ก้าวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การส่งผ่านความรู้ทางด้านการเกษตรหลังการปฏิวัติเขียวจากภาครัฐและภาควิชาการให้เกษตรกรเป็นการบอกให้เกษตรกรทำตาม หรือสาธิตให้ดู และช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในบางเรื่อง ไม่ได้ส่งผ่านความรู้ที่ช่วยให้เกษตรกรมีทักษะที่สามารถคิดวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้ได้ด้วยตนเอง ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง มากกว่าทนต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง ภาครัฐหรือภาควิชาการต้องปรับตัวจากการเป็นผู้ชี้นำ และตัดสินใจแทนเกษตรกรมาเป็นผู้สร้างทางเลือกที่หลากหลายที่มีข้อมูลรอบด้าน
การส่งเสริมพัฒนาขยายผลชุมชนในรูปแบบการผลิตที่ยั่งยืน ควรนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้ถูกต้อง มุ่งเน้นให้ให้เษตรกรผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือนเหลือจากการบริโภคขายในชุมชน ชุมชนต้องมีแหล่งน้ำจืดเป็นของตนเอง การสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อจัดการผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร การจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของภาคการเกษตรต้องมีการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้มีความรู้ ขณะเดียวกันต้องมีนโยบายในการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นการเสนอทางเลือกเชิงนโยบาย ที่สามารถเพิ่มคนที่มีทักษะการปรับตัวเข้าสู่สังคมเกษตรให้มากขึ้น เป็นเกษตรกรที่นอกจากสามารถปรับตัวเองได้เท่าทันสถานการณ์ได้แล้ว ยังต้องสามารถพัฒนาสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรที่เป็นกำลังสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนและประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น