วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

นวัตกรรมกับการพัฒนาภาคการเกษตรไทย

การเข้าถึงนวัตกรรมของเกษตรกรไทย


ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาว่า นักวิจัยไทยได้ผลิตงานวิจัยออกมาถึง 4-5 แสนเรื่อง แต่ไม่ได้เก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน เพื่อความสะดวกในการค้นคว้าพัฒนาเพื่อต่อยอดงานวิจัยในเชิงธุรกิจ (สุทธิพร, 2559) งานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องข้าวของประเทศไทยเช่นกัน รศ. ดร. พีรเดช ทองอำไพ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ได้กล่าวในที่ประชุมสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นในการพัฒนาโจทย์วิจัยการปรับตัวของชาวนาไทยฯ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2559 ว่าประเทศไทยมีงานวิจัยด้านข้าวหมื่นกว่าเรื่อง แต่ข้อมูลเหล่านั้นไม่ถึงมือชาวนา ทำอย่างไรให้ข้อมูลงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมให้ถึงมือชาวนา หรือจากข้อมูลการสำรวจข้อมูลในระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวคม พ.ศ.2551 โดยมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท พบงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์จำนวน 270 เรื่อง ซึ่งเป็นงานวิจัย-นวัตกรรมนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา รวมเป็นเวลา 19 ปี  งานวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา โดยเฉลี่ยมีงานวิจัยประมาณ 20-30 เรื่องของงานวิจัยต่อปี ยกเว้นในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีจำนวนชิ้นงานวิจัยค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากโครงการนำร่องเกษตรยั่งยืนเพื่อเกษตรกรรายย่อย ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิเกษตรยั่งยืน (ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ราว 600 ล้านบาท ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546) แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2548 ที่รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาทให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ ภายใต้กรอบโครงการ วาระแห่งชาติ เกษตรอินทรีย์แต่ไม่ปรากฎว่ามีผลทำให้งานศึกษาวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด หน่วยงานที่มีการผลิตงานวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์มากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา คือ มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นผลงานที่ดำเนินการโดยสถาบันการศึกษา (รวมทั้งนักศึกษาปริญญาโท-เอก และนักวิชาการ) โดยมีการทำการศึกษาวิจัยมากกว่าครึ่งหนึ่งของงานวิจัย-นวัตกรรมในประเทศไทย (กรีนเนท, 2559) และจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้พูดถึงงานวิจัย นวัตกรรมดีๆ ส่วนใหญ่อยู่บนหิ้ง หรือไม่ก็อยู่กับนายทุน ไม่ถึงมือเกษตรกรตัวจริง สิ่งเหล่านี้อาจมีสาเหตุที่เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลงานวิจัยที่อยู่บนเวปไซศ์ได้ยาก เนื่องจากต้องผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนที่จะเข้าไปเอาข้อมูลได้ แม้แต่นักวิชาการต้องการงานวิจัยมาใช้ในบางครั้งไม่สามารถทำได้เช่นกัน ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น 1) วิธีการยุ่งยากซับซ้อนในการเข้าถึงฐานข้อมูล 2) เข้าไปแล้วไม่พบข้อมูล 3) ต้องจ่ายเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ขาดหน่วยงานที่รวบรวมงานวิจัยหรือนวัตกรรมมาที่นำมาใช้ประโยชน์กับอาชีพเกษตรกรรม เมื่อเวลาผ่านไปทำให้งานวิจัยนั้น ๆ ล้าสมัย และประกอบกับนโยบายการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ต้องมีการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าถึงสามารถตีพิมพ์ในระดับนานาชาติได้ ทำให้เกษตรของประเทศไทยขาดโอกาสในการนำงานวิจัยนั้น ๆ มาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ในกระบวนการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาด้านการเกษตร นวัตกรรมหรือเครื่องมือที่นำมาใช้กับการเรียนการสอน ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมีที่มีราคาสูง ยกตัวอย่าง เช่น รถแทรกเตอร์ หรือเครื่องทุ่นแรงในฟาร์ม เป็นเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ ราคาสูง เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาออกไป ไม่มีเงินที่จะซื้อเครื่องจักรกลเหล่านั้นมาประกอบอาชีพได้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวันที่มีเครื่องทุ่นแรงขนาดเล็กมาใช้กับภาคการเกษตรในราคาที่เกษตรกรมีกำลังซื้อ ดังนั้นในสถาบันการศึกษาที่สร้างกำลังคนภาคการเกษตรต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ที่สามารถนำเครื่องมือหรือเครื่องทุ่นแรง หรือนวัตกรรมโรงเรือน หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรที่มีราคาไม่สูงจนเกินไป ที่นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้จริง

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรื่องเล่า "ชีวิตในชนบท:ความมั่นคงทางอาหาร"

เรื่องเล่า "ชีวิตในชนบท:ความมั่นคงทางอาหาร"

เล่าสู่กันฟังเรื่อง "ข้าวไร่"

         พันธุ์ข้าวไร่เป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองที่คนส่วนใหญ่ในอดีตเรียกว่าข้าวคนจน แต่ปัจจุบันกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้โดยใช้เวลา แค่ 3-5 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปเยอะเหลือไม่กี่พันธุ์
          ข้าวไร่เป็นพืชทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่สามารถช่วยเรื่องความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนได้ เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกบนที่ดอนอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ซึงปัจจุบันเห็นได้ว่าเกิดปัญหาเรื่องน้ำในการปลูกข้าวแต่ข้าวไร่เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยปลูกได้ในดินทุกชนิด ใช้ปุ๋ยน้อยมากเหมาะสำหรับการปลูกในระบบอินทรีย์การดูแลรักษาไม่ยาก อย่าให้มีวัชพืชในแปลงก็มีข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน

ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเจ้าพันธุ์นางเขียน

  • ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเจ้าพันธุ์นางเขียน


ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเจ้าพันธุ์สามเดือน

  • ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเจ้าพันธุ์สามเดือน

ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเจ้าพันธุ์เล็บมือนาง

  • ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเจ้าพันธุ์เล็บมือนาง

ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเจ้าพันธุ์เล็บนกไร่


  • ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเจ้าพันธุ์เล็บนกไร่


ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเหนียวพันธุ์แม่ผึ้ง

  • ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเหนียวพันธุ์แม่ผึ้ง


ข้าวไร่ Upland rice ; นางดำ

  • ข้าวไร่ Upland rice ; นางดำ


ข้าวไร่ Upland rice ;ข้าวเจ้าพันธุ์นางครวญ

ข้าวไร่ Upland rice ;ข้าวเจ้าพันธุ์นางครวญ


ข้าวไร่ Upland rice ; พันธุ์ข้าวเหนียวดำกาต้นดำ

  • ข้าวไร่ Upland rice ; พันธุ์ข้าวเหนียวดำกาต้นดำ

ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเหนียวพันธุ์ดำกาต้นเขียว

  • ข้าวไร่ Upland rice ; ข้าวเหนียวพันธุ์ดำกาต้นเขียว


ข้าวไร่ Upland rice ; พันธุ์ดอกขาม




  • ข้าวไร่ Upland rice ; พันธุ์ดอกขาม